เมนู

เป็นหนุ่ม อินทรีย์ทั้งหลาย มีจักขุเป็นต้นผ่องใสสามารถรับอารมณ์แม้ละเอียด
ของตนได้โดยง่ายนั่นแหละ แต่เมื่อถึงความชราแล้วอินทรีย์ทั้งหลายก็จะหง่อม
งกเงิ่น ไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถจะรับอารมณ์แม้อันหยาบของตนได้ฉะนั้น
จึงตรัสชราโดยผลูปจารนัยว่า ความหง่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ดังนี้.

ว่าโดยชรา 2 อย่าง


ก็ ชรานี้นั้นทรงยกขึ้นแสดงไว้อย่างนี้ว่า ชราแม้ทั้งหมดมี 2 อย่าง
คือ ปากฏชรา (ชราปรากฏ) ปฏิจฉันนชรา (ชราปกปิด). บรรดาชรา 2
เหล่านั้น ชราในรูปธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ปากฏชรา เพราะแสดงความ
แตกหักเป็นต้น ในอวัยวะมีฟันเป็นต้น แต่ชราในอรูปธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า
ปฏิจฉันนชรา เพราะไม่แสดงพิการเช่นนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ยังมีชราอีก 2 อย่าง คือ
อวีจิชรา (ชราไม่มีคลื่น)
สวีจิชรา (ชรามีคลื่น).
ในชรา 2 อย่างเหล่านั้น พึงทราบว่า ชราที่ชื่อว่า อวีจิชรา เพราะ
ความต่างกันแห่งวรรณะเป็นต้น ภายในระหว่าง ๆ เป็นชราที่รู้ได้ยาก ดุจชรา
ของแก้วมณี ทองคำ เงิน แก้วประพาฬ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เป็นต้น ดุจชรา
ของสัตว์มีชีวิตทั้งหลายในเวลาที่เป็นมันททสกะเป็นต้น และดุจชราของสิ่งไม่มี
ชีวิตทั้งหลายมีในเวลาที่มีดอก มีผล และหน่อเป็นต้น ได้แก่ นิรันตชรา.
ส่วนชราที่ชื่อว่า สวีจิชรา เพราะความต่างกันแห่งวรรณะเป็นต้น ภายใน
ระหว่าง ๆ ในสิ่งเหล่าอื่นตามที่กล่าวแล้ว นอกจากนั้นเป็นของรู้ได้โดยง่าย
ดังนี้.